แมกเนติกคอนแทคเตอร์คืออะไร? ใช้งานยังไง? ดูยังไงเสียหรือดี?

แมคเนติกคืออะไร

วันนี้ผมจะมาอธิบายถึงการใช้งาน
“ แมกเนติกคอนเทคเตอร์ ” ครับว่า
อุปกรณ์ตัวนี้คืออะไร ทำงานยังไง
จะดูยังไงว่ามันเสียหรือเปล่า

หลาย ๆ คนที่ทำงานเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า
จะเจอเจ้าตัวนี้บ่อยมาก 😉
แต่อาจจะเจอในหน้าตาที่ไม่ค่อยเหมือนกัน
วันนี้ผมเอาตัวอย่างเป็นแมกที่เน้นใช้งานไฟฟ้ามาให้ดูครับ

แมคเนติก

ภาพ แสดงหน้าตาแมคเนติกที่ใช้ในงานไฟฟ้าตามปกติ

ก่อนอื่นต้องบอกก่อนเลยว่า
เจ้าอุปกรณ์ตัวนี้มันมี

หน้าที่ เป็นอุปกรณ์สวิตช์ตัดต่อวงจรไฟฟ้า ครับ

โดยการ เปิด – ปิด ของหน้าสัมผัสแบบอัตโนมัติ
ซึ่งทำงานโดยอาศัยอำนาจแม่เหล็กไฟฟ้า
ช่วยในการ เปิด – ปิด หน้าสัมผัส

ตัวอย่างที่เราจะเห็นกันบ่อย ๆ ก็พวก
เปิด – ปิด การทำงานของวงจรควบคุมมอเตอร์
นิยมใช้ในวงจรของระบบแอร์, ระบบควบคุมมอเตอร์
หรือ ใช้ในการควบคุมเครื่องจักรต่าง ๆ


 

ส่วนประกอบของแมคเนติก

ส่วนประกอบแมคเนติก

จากภาพด้านบนนี้เราจะเห็นได้ว่า
ตัวแมกเนติกจะมีส่วนประกอบ 3 ส่วนหลัก ๆ คือ

1
ภาพตารางบนสุดจะเป็น ส่วนของขา No Nc
โดยมีมาให้เราเลือกใช้งานตามความเหมาะสม
ตามวงจรที่เราออกแบบครับ

ขา no nc แมคเนติก

โดยการทำงานคือ

ถ้าไม่มีไฟเลี้ยง
ขา NC – ทำงาน
ขา NO – ไม่ทำงาน

ถ้ามีไฟเลี้ยง
ขา NC – ไม่ทำงาน
ขา NO – ทำงาน


2
ภาพตารางตรงกลางเป็นส่วนของหน้าสัมผัส (Contact)

หน้าสัมผัสแมคเนติก

ถ้าไม่มีไฟมาเลี้ยงขาควบคุม
หน้าสัมผัสจะแยกออกจากกันทำให้วงจรขาดครับ

แต่เมื่อไรก็ตามที่มีไฟมาเลี้ยงขาควบคุม
หน้าสัมผัสก็จะติดกัน
และไฟจะสามารถไหลผ่านได้ครับ


3
ภาพตารางล่างสุดจะเป็น ส่วนของขาควบคุม

ขาควบคุมแมคเนติก

ส่วนนี้เอาไว้ต่อเพื่อจ่ายไฟไปยังขดลวดแม่เหล็กครับ
โดยถ้าจ่ายไฟไปผ่านขดลวดแม่เหล็ก
จะเกิดการเหนี่ยวนำให้เกิดสนามไฟฟ้า
และดูดหน้าคอนแทคให้ติดทำให้ไฟไหลผ่านได้


 

วิธีการตรวจสอบว่าแมกเนติกเสียหรือดี

วิธีที่ 1
ตรวจสอบส่วนของ ขาควบคุม
1. เอามิเตอร์ ตั้งย่านวัดความต้านทาน สูงสุดของเครื่อง
2. นำเข็มไปจี้ที่ขาทั้ง 2 ของขาควบคุม

ผล : ถ้ายังมีค่าความต้านทานขึ้นอยู่แสดงว่ายังใช้งานได้ครับ

วัดแมคเนติก 1

ภาพแสดง การวัดแมคเนติกขณะไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านที่ขาควบคุม เข็มขึ้นคือของดี 

 


วิธีที่ 2
ตรวจสอบส่วนหน้าสัมผัสหลักและหน้าสัมผัสช่วย
1. เอามิเตอร์ ตั้งย่านวัดความต้านทาน  สูงสุดของเครื่อง
2. นำเข็มไปวัดจี้ที่ขาหน้าสัมผัสหลัก
3. นำเข็มไปวัดจี้ที่หน้าสัมผัสช่วยตามลำดับ


ผล : ให้วิเคราะห์ตามหลักว่า

ถ้าไม่มีไฟ
ค่าความต้านทานต้องไม่ขึ้น
ยกเว้นขาหน้าสัมผัสช่วย NC ต้องขึ้น

แต่ถ้ามีไฟ
(ลองเอาไขควงวัดไฟกดที่ปุ่มหน้าสัมผัส)
ค่าความต้านทานต้องขึ้นทุกขา
ยกเว้นขาหน้าสัมผัสช่วย NC ต้องไม่ขึ้น

วัดแมคเนติก 2

ภาพแสดง ลักษณะการวัดแมคเนติก ขณะมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน


เรียบเรียงบทความโดย : แผนกวิชาการ

#โรงเรียนศูนย์ฝึกวิชาชีพระยะสั้น
#ช่างไฟฟ้าควบคุมเครื่องจักรอุตสาหกรรม
#ช่างไฟฟ้าคอนโทรล #ไฟฟ้าคอนโทรล
#สอนไฟฟ้าคอนโทรล #แมกเนติก