ก่อนจะพูดถึงการติดไฟของน้ำยาแอร์
ผมขออธิบายเรื่องชนิดน้ำยาแอร์ก่อนแล้วกัน
ว่ามีกี่ชนิดที่นิยมใช้กับแอร์บ้าน
และแต่ละชนิดมีคุณสมบัติยังไง
ใครอ่านแล้ว งง ข้ามไปดู
ตารางสรุปอันสุดท้ายเลยก็ได้นะ
แต่ถ้าใครอยากรู้ลึกๆ
เดียววันนี้ผมจะลงรายละเอียดให้ครับ
น้ำยาแอร์หรือสารทำความเย็น (Refrigerants)
ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในแอร์บ้าน
ส่วนใหญ่ที่เราจะเจอกันมีอยู่ 3 ชนิด คือ
สารทำความเย็น R22 R32 และR410a
"ต้องบอกก่อนเลยว่าใน 3 ตัวนี้
มีตัวหนึ่งที่ติดไฟครับ"
มาดูตัวแรก
น้ำยาแอร์ยุคบุกเบิกนั่นคือ R22
หรือ Chlorodifluoromethane
เป็นสารทำความเย็นที่นำมาใช้กับระบบ
เครื่องปรับอากาศเป็นชนิดแรกๆ
เนื่องจากสารทำความเย็นชนิดนี้
ไม่มีสีไม่มีกลิ่น ไม่เป็นพิษ
จึงไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
จุดเดือดอยู่ที่ ประมาณ -40.8 องศาเซลเซียส
และที่สำคัญครับตัวนี้ไม่ติดไฟ
แต่ R22 จัดอยู่ในหมวดสารทำความเย็นชนิด
CHFC
นั่นหมายถึงว่า น้ำยาแอร์ตัวนี้ทำลายชั้นโอโซน
มีค่า ODP อยู่ที่ 0.05
และสร้างภาวะโลกร้อนครับโดย
มีค่า GWP อยู่ที่ 1,810
หมายเหตุ
ODP ย่อมาจาก Ozone Depletion Potential = ค่าแสดงระดับการทำลายโอโซน
"ยิ่งมีมาก เวลาน้ำยารั่วยิ่งทำลายโอโซนมาก"
GWP ย่อมาจาก Global Warming Potential = ค่าศักยภาพที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน
"ยิ่งมีมาก เวลาน้ำยารั่วยิ่งทำให้โลกร้อนมาก"
ดังนั้นจึงมีการห้ามผลิตแอร์ขนาด
ไม่เกิน 50,000 BTU ที่ใช้น้ำยา R22
ออกมาจำหน่าย เนื่องจากค่า GWP สูงมาก
โดย บังคับใช้ไปเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2560
แน่นอนครับแอร์บ้านโดนไปเต็มๆ
แต่ถ้าใครใช้ R22 อยู่ก็ไม่ต้องห่วงเรื่องน้ำยานะ
ยังมีขายอยู่ไปอีกหลายปี แต่
ราคาอาจจะมีปรับสูงขึ้น
เพราะโดนลดปริมาณการนำเข้าครับ
น้ำยาแอร์ชนิดต่อไปคือ R410a
หรือ Difluoromethane
เอาเป็นว่าในเมื่อ R22 กำลังจะหายไป
ตลาดก็ต้องมีน้ำยาตัวใหม่มาแทน
และผู้ที่ได้รับเลือกรายแรกคือ R410a
สาเหตุเพราะ R410a
ทำลายชั้นโอโซนน้อยกว่า R22
โดย ODP ของ R410a อยู่ 0
อีกทั้งยังไม่เป็นพิษกับเรา และไม่ติดไฟ
เป็นสารทำความเย็นที่อยู่ในหมวด HFC
มีจุดเดือดอยู่ที่ประมาณ -51.5 องศาเซลเซียส
แต่มีข้อเสียตรงที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน
มากกว่า R22 โดยค่า GWP อยู่ที่ 2,090
สารทำความเย็น R410a เป็นสารผสมระหว่าง
R32+R125 อัตตราส่วนคือ 50/50 %
ซึ่งสารชนิดนี้หากเกิดการรั่วซึ่ม
จะทำให้อัตตราส่วนไม่เป็น 50/50 %
"ต้องปล่อยทิ้งและเติมใหม่ทั้งหมด
ทำให้ค่าซ่อมค่อนข้างเจ็บปวดกับลูกค้ามาก"
ราคาของสารทำความเย็น R410a แบบถัง
ก็เจ็บอยู่พอสมควร ตลาดจึงมีการนำ
น้ำยาอีกชนิดหนึ่งเข้ามา
นั่นก็คือ ตัวถัดไปของเรา
R32 หรือ Difluoromethane
“บอกเลยครับตัวนี้แหละที่ติดไฟ”
แต่ไม่ถึงกับขนาด LPG นะ
R32 จัดอยู่ในหมวดสารติดไฟยาก
หรือสารติดไฟประเภท A2L
จะติดได้ก็ต้องมีความเข้มข้นอยู่ที่
ประมาณ 13.5% ของปริมาณห้อง
ดังนั้นโอกาสติดไฟจึงเรียกได้ว่าน้อยครับ
แต่อย่างไรก็ตามแอร์ที่มีขนาดทำความเย็น
เกิน 2 ตันหรือ 24,000 BTU
จะไม่ใช้น้ำยา R32 เพื่อลดความเสี่ยงในการติดไฟ
ข้อเสีย อีกอย่างของ R32 คือแรงดันสูงครับ
แต่ก็ไม่ต่างจาก R410a มากเท่าไหร่
ข้อดี คือเป็นสารเชิงเดี่ยวครับ
คือไม่มีสารทำความเย็นตัวอื่นผสม
ดังนั้น R32 สามารถเติมเพิ่มได้
หากเกิดการรั่วซึ่มเหมือนR22
R32 มีจุดเดือดต่ำที่สุด
ในบรรดาสารทำความเย็นที่เราคุยกันมา
อยู่ที่ประมาณ -51.7 องศาเซลเซียส
ไม่เป็นพิษกับคน
ที่สำคัญคือ
R32 มีค่าการทำลายชั้นโอโซน ODP อยู่ที่ 0
ส่วนค่าการสร้างภาวะโลกร้อน GWP อยู่ที่ 675
ถือว่าน้อยเลยทีเดียว
สรุปก็คือ
สารทำความเย็นทุกตัว
มีทั้งข้อดีและข้อเสีย
ส่วนใครจะเลือกใช้ตัวไหนก็อยู่ที่เราครับ
เพราะถ้าน้ำยาแอร์ไม่ดีจริง
ทางผู้ผลิตไม่กล้าเอามาใช้แน่ๆครับ
“ส่วนเรื่องการติดไฟเนี่ยก็มี R32 นี่แหละที่ติด”
แต่อย่างที่บอกครับต้องมีความเข้มสูง
เอาจริงๆ ไม่ว่าน้ำยาแอร์ตัวไหนก็อันตราย
หากผู้ที่ติดตั้งไม่มีความชำนาญในด้านนี้