.
วันนี้ผมมีเรื่องมาเล่าให้ฟังครับ เกี่ยวกับประเภทของสายไฟที่ช่างอย่างเราควรรู้จักไว้
มาเริ่มที่อันดับแรกกันเลย
อันดับที่ 1 สาย VAF / VAF-G
ภาพที่ 1.1 สายไฟฟ้า VAF แบบไม่มีสายกราวด์
ภาพที่ 1.2 สายไฟฟ้า VAF-G แบบมีสายกราวด์ในตัว
สายชนิดนี้ มีชื่อเรียกกันว่า วีเอเอฟ (VAF) ครับ เป็นสายที่ใช้กันมากตามบ้านทั่วไป เราจะสังเกตุเห็นได้ง่าย ตัวสายจะทนอุณหภูมิได้ไม่เกิน 70°C และทนแรงดันได้ 300/500V
ช่างอย่างพวกเรานิยมนำมาใช้เดินลอยตีกิ๊บหรือ
เข็มขัดรัดสายกันภายในอาคารครับ
อธิบายเพิ่มเติมก่อนนิดนึง 300/500V หมายความว่า
ตัวสายไฟนี้ทนแรงดันได้ 300V ถ้าวัดระหว่างขั้ว L กับ N
แต่ทนแรงดันได้แค่ 500V ถ้าวัดเทียบขั้ว L กับ L
ภาพที่ 1.3 ภาพตัวอย่างงานที่ใช้สายไฟฟ้าชนิด VAF / VAF-G
ข้อควรระวังในการใช้งานก็คือ สายชนิดนี้ ห้ามนำมาร้อยท่อและห้ามฝังดินเด็ดขาด โดยถ้าจะเดินร้อยท่อ เรามีสายอีกชนิดนึงต่างหากที่เหมาะสมกว่ามาก
ภาพที่ 1.4 ข้อห้าม ของการใช้สายไฟฟ้า VAF / AVF-G
คราวนี้มาพูดถึงลักษณะของทองแดงภายในสายกันบ้างครับ ลักษณะแกนทองแดงภายในสายจะมีทั้งแบบแข็ง และแบบตีเกลียว โดยผมให้ เทคนิคการเลือกใช้แบบนี้นะครับ
- ถ้าเราต้องการงานเดินสายที่โค้งงอได้มาก ก็ควรเลือกแบบตีเกลียว
- แต่ถ้าเดินสายปกติไม่มีโค้งงอมากนัก ก็ให้เลือกแบบแข็งครับ
อันดับ 2 สาย THW
ภาพที่ 2.1 ตัวอย่าง สายไฟฟ้าแบบ THW
สายชนิดนี้มีชื่อเรียกว่า ทีเอชดับเบิลยู (THW) แต่ช่างชอบเรียกว่า ทีเฮชดับบิว ครับ
ลักษณะของสายจะเป็นสายแกนเดี่ยว ตัวสายเองทนแรงดันได้ 450/750V โดยมากช่างอย่างพวกเราจะนิยมใช้เดินร้อยท่อ แต่ก็สามารถใช้เดินทั่วไปหรือเดินลอยในอากาศก็ได้
ขอแนะนำว่า เน้นเอามาเดินร้อยท่อหรือเดินลอยเป็นหลักดีกว่า อย่าเอามาเดินตีกิ๊บ ถ้าจะตีจริงๆไปใช้สายแบบ VAF ประหยัดกว่า
ข้อห้ามในการใช้งาน คือ ไม่ควรนำไปเดินฝังดินไม่ว่าจะร้อยท่อหรือเดินเปล่าก็ไม่ควรทั้งนั้น
ภาพที่ 2.2 สาย THW ห้ามนำไปเดินฝังดินไม่ว่าจะร้อยท่อหรือเดินเปล่า
คิดถึงการเดินร้อยท่อ หรือ เดินลอยในอากาศนึกถึง THW ก่อนเลยนะครับ
ภาพที่ 2.3 ภาพตัวอย่างงานเดินสายไฟโดยใช้สาย THW
อันดับ 3 สาย VCT / VCT – G
ภาพที่ 3.1 สายไฟฟ้า VCT
ภาพที่ 3.2 สายไฟฟ้า VCT-G
สายชนิดนี้ช่างจะเรียกว่า สายวีซีที (VCT) มองด้วยตาจะเห็นว่าเป็นสายกลม ตัวสายจะอ่อนดัดโค้งงอได้ง่าย ทองแดงแกนกลางจะเป็นฝอยๆ และทนการสั่นสะเทือน ทำให้ต่อกับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆได้ง่าย ครับ
สายสามารถ ทนความร้อนได้ 70°C และ ทนแรงดันได้ 450/750V
ภาพที่ 3.3 ทองแดงฝอยเส้นเล็กๆ ร้อยรวมกันเป็นแกนกลาง
สาย VCT นี้สารพัดประโยชน์มาก เพราะใช้เดินสายทั่วไปไม่ว่าจะร้อยท่อ เดินในราง เดินตีกิ๊บ หรือจะฝังดิน หรือจะร้อยท่อฝังดิน สายชนิดนี้ก็ทำได้หมดครับ
ในท้องตลาดจะมีขาย 3 แบบใหญ่ๆ คือ แกนเดี่ยว, หลายแกน และ หลายแกนมีสายดิน
ภาพที่ 3.4 ตัวอย่างสาย VCT / VCT-G
คำแนะนำ สายชนิดนี้ส่วนมากเราจะนิยมใช้เพื่อเดินต่อระหว่างอุปกรณ์ มากกว่าจะเอามาเป็นสายหลักในการเดินภายในอาคาร เนื่องจากสายแข็งจะเดินภายในท่อได้ง่ายกว่า (ดึงสายง่าย)
อันดับสุดท้าย อันดับที่ 4
สาย NYY / NYY–G
ภาพที่ 4.1 ตัวอย่างสายไฟฟ้า NYY
ภาพที่ 4.2 ตัวอย่างสายไฟฟ้า NYY-G
ถ้าจะให้ผมนิยามการใช้งาน สาย เอ็นวายวาย (NYY) ต้องบอกว่า
เดินฝังดิน หรือ เดินบนราง ต้อง NYY ครับ
สายชนิดนี้จะเป็นสายชนิดต้นๆ ที่ช่างจะนึกถึงเมื่อเจองานแบบที่บอกไป เพราะสายตัวนี้ถูกออกแบบมาให้มีฉนวนหุ้ม 2 ชั้น ทำให้มีความคงทนสูงไม่ว่าจะเดินแบบเปล่าหรือเดินร้อยท่อฝังดินก็ไม่ยัน
สายที่ขายในบ้านเรา จะมีทั้งแบบแกนเดียวแบบหลายแกน แบบหลายแกนมีสายดิน สามารถเลือกใช้งานได้ตามความเหมาะสม
ซึ่งตัวสายเองยังมีคุณสมบัติ ทนแรงดันได้ 450/750V และ ทนความร้อนได้ 70°C
ข้อควรระวัง ก็คือ แกนทองแดงตรงกลางจะเป็นแบบตีเกลียวทำให้โค้งงอสายได้ประมาณหนึ่งแต่ไม่ควรโค้งมากไปเพราะจะหักได้ ( ถ้าจะโค้งมากๆ ให้ใช้สาย VCT จะเหมาะกว่า )
สรุป ถ้าจะเลือกใช้งานสายไฟแบบไหนดูตามตารางด้านล่างนี้ได้เลย
บทความนี้อ้างอิงมาจากตารางด้านล่างของ วสท ปีล่าสุด
#โรงเรียนศูนย์ฝึกวิชาชีพระยะสั้น
(เขตบางบอน กทม.)
สอนให้เป็นช่าง ระยะสั้นเพียง 5 วัน
***********************************
สนใจเรียนติดต่อ
Tel : 081-407-6084 / 02-894-3133-5
Line : @tsc-th หรือกด Link : http://bit.ly/2T0QMb2
Chat Facebook : http://bit.ly/2OI34jb
Website : https://www.tsc-th.com/
Facebook : https://facebook.com/trainingcenter.thai/
แผนที่ : https://goo.gl/maps/L4A9ZJjivLS2