สวิทช์ไฟ ต่อวงจรแบบไหนถึงจะเหมาะ ? “วงจรอนุกรม” มีคำตอบ

วงจรอนุกรม


บ้านคุณมีหลอดไฟไหม

***********************************************

🎯
ผมเชื่อว่าทุกบ้านเดียวนี้มีหลอดไฟกันหมดแล้ว
หลายๆ คนอาจจะเคยสงสัยกันว่า
“ถ้าเราอยากต่อสวิทช์ไฟใช้เองต่อแบบไหนถึงจะเหมาะ”
วันนี้ผมเลยคิดว่าจะมาเล่าให้ฟังครับ 😁


🎯
ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าการต่อสวิทช์ไฟต้องต่อแบบ “วงจรอนุกรม”
หลายๆ คนอาจ งง อะไรคือ “วงจรอนุกรม”
ถ้าใครไม่รู้จักผมเคยทำคลิปอธิบายไว้แล้วครับ
ลองไปดูได้ที่ นี้เลย 👉 http://bit.ly/39RdxD1


🎯
สำหรับคนที่ขี้เกียจไปดูให้อธิบายง่ายๆ ก็คือ
การต่อวงจรอนุกรม = วงจรที่เอา อุปกรณ์มาต่อเรียงกัน
โดยวงจรนี้จะมีคุณสมบัติ
แบ่งแรงดันไฟฟ้า และ กระแสไฟฟ้าจะไหลเท่ากันทั้งวงจร


🎯
เจ้าวงจรนี้ มีกระแสไฟฟ้าไหลเท่ากันทั้งหมด
ถ้ามีอุปกรณ์เสียหนึ่งตัว อุปกรณ์อื่นก็ใช้ไม่ได้
มันเลยเหมาะเอามาต่อสวิทช์ไฟ


🎯
ยกตัวอย่างเช่น
ถ้าเรากดปิดไฟ มันจะเหมือนวงจรขาด
ไฟก็ไม่ติดสักดวง เพราะสวิทช์มันไม่ทำงาน
แต่ถ้าเรากดเปิดไฟ ไฟก็วิ่งได้ปกติ ไฟก็ติดทุกดวง เพราะสวิทช์ ทำงาน


🎯
เรามักจะเห็น วงจรอนุกรม ถูกนำมาต่อใช้งานบ่อยๆ
กับพวกอุปกรณ์ ตัดไฟ อุปกรณ์ป้องกันต่างๆ ทางไฟฟ้า
เช่น ฟิวส์ อุปกรณ์กลุ่มนี้จะถูกต่อด้วยวงจรอนุกรมเป็นหลัก
เพราะถ้าอุปกรณ์ตัดไฟทำงาน อุปกรณ์อื่นๆ ก็ควรหยุดทำงาน


🎯
“ข้อควรระวัง” ของวงจรอนุกรมก็คือ
อย่าพยายามนำมาต่อโดยตรงกับวงจรหลอดไฟ💡


🎯
เนื่องจากตัวมันเองมีการแบ่งแรงดันไฟฟ้า
ถ้าเรานำมาต่อกับพวกหลอดไฟหลายๆ หลอดต่อกัน จะทำให้หลอดไฟสว่างไม่เท่ากัน โดยจะค่อยๆ ถูกลดความสว่างไปเรื่อยๆ


🎯
และถ้าหลอดไฟไหนขาด หลอดไฟทั้งหมดก็จะไม่ติด
การต่อหลอดไฟเลยไม่นิยมใช้ต่อวงจรอนุกรม


***********************************************

.
เรียบเรียงบทความโดย : แผนกวิชาการ

#โรงเรียนศูนย์ฝึกวิชาชีพระยะสั้น
#ช่างไฟฟ้าภายในอาคาร #วงจรอนุกรม
#วงจรไฟฟ้า #ไฟฟ้าพื้นฐาน #ไฟฟ้า
#ช่างไฟฟ้า #สอนช่างไฟฟ้า