ปั้มดาวน์ เก็บน้ำยาไว้ในแอร์เวลาจะย้ายจุดติด ทำดีมั้ย ?

ปั้มดาวน์ เก็บน้ำยาไว้ในแอร์
เพิ่ม LINE@ โรงเรียน จะได้ไม่พลาดความรู้ดี ๆ 👇
กดเลย  http://bit.ly/2TzhdUv
 
ติดตาม YouTube ของโรงเรียนรับชม VDO การสอนดีๆ
กดเลย ✅ http://bit.ly/38qoav0
 
 



หลายคนคงเคยได้ยินช่างพูดว่
ปั้มดาวน์หรือเก็บน้ำยา

ถ้าใครไม่ได้เป็นช่างคงสงสัยว่าคืออะไร ทำไปทำไม

ก่อนอื่นผมข้อเรียกการปั้มดาวน์ว่าการเก็บน้ำยาแล้วกันนะครับ

การเก็บน้ำยาคือ
การดึงน้ำยาที่มีในระบบกลับมาเก็บไว้ในคอยล์ร้อน
โดยจะให้ตัวคอมเพรสเซอร์เป็นตัวดูดน้ำยากลับมาเก็บไว้
แล้วทำการปิดตัวสตอปวาล์วไม่ให้น้ำยาไหลออกจากคอยล์ร้อ

ปกติแล้วช่างบางคนจะนิยมทำเวลาย้ายแอร์,
ซ่อมเปลี่ยนคอยล์เย็น, เปลี่ยนไส้ศร
หรือไม่ก็ต้องการเชื่อมบริเวณคอยล์เย็น
 
อย่าเก็บน้ำยาแล้วไปเชื่อมคอยล์ร้อยนะ
“ระเบิดนะครับ”


🎯 ห้ามเชื่อม ตอนมีน้ำยาอยู่ในระบบเด็ดขาดครับ

อันนี้บรรดาช่างน่าจะเข้าใจดีอยู่แล้ว

ทีนี้เรามาพูดถึงข้อดีข้อเสียกันดีกว่า
ว่าทำแล้วมันดียังไงทำไมช่างต้องทำ


🔶 1
ข้อดี

การเก็บน้ำยาช่วยลดต้นทุนครับ

เมื่อไม่ต้องปล่อยน้ำยาทิ้งก็ไม่ต้องเติมใหม่
ทำให้ลดต้นทุนของลูกค้าและช่างลดลง ได้บ้างส่วน

เวลาเราซื้อแอร์ใหม่มา
ส่วนใหญ่ผู้ผลิตก็จะเติมน้ำยามาให้แล้ว
ภายในคอล์ยร้อน (แอร์ตัวนอกบ้าน)

ดังนั้นกรณีที่ย้ายแอร์
ช่างก็จะเก็บน้ำยาไว้ในคอยล์ร้อน

เวลาย้ายไปติดตั้งให้ลูกค้า
ก็จะทำลักษณะเดียวกับการติดตั้งแอร์ใหม่
เลยช่วยลดต้นทุนของช่างได้


🔶 2
ข้อเสีย

อันนี้ต้องดูที่สภาพของคอยล์ร้อนครับ
ถ้าคอยล์ร้อนของลูกค้ามีสภาพเก่ามาก
ไม่อยากให้เก็บน้ำยาเท่าไหร่ครับ
เพราะกลัวว่าจะทำให้คอยล์ร้อนรั่ว

กลายเป็นว่าต้องซ่อมรั่วกันอีก

อีกกรณีก็คือ “อันตราย” ครับ
การเก็บน้ำยาไว้ที่คอล์ยร้อ
มีโอกาสทำให้คอมเพรสเซอร์แอร์เสียหาย
ถ้าช่างขาดความชำนาญและการปฏิบัติที่ถูกต้อง
 
ไม่ค่อยแนะนำให้ทำเท่าไร
ถ้าจะย้ายแอร์เอางานปลอดภัยจริง ๆ

แนะนำให้ปล่อยน้ำยาออก แล้วข้นย้ายดีกว่าครับ

สรุป คือ การเก็บน้ำยา “ทำได้” นะ
แต่ต้องใช้ความรอบคอบ และระมัดระวัง



เรียบเรียงเนื้อหาโดย : แผนกวิชาการ
สนใจเรียนโทร : 081-407-6084 , 02-894-3133-5

#โรงเรียนศูนย์ฝึกวิชาชีพระยะสั้น
#แอร์บ้าน#สอนซ่อมแอร์#สอนล้างแอร์
#สอนติดตั้งแอร์#สอนช่างแอร์#ล้างแอร์
#ช่างแอร์#ช่างแอร์บ้าน#งานท่อทองแดง
#ซ่อมแอร์#ติดตั้งแอร์#น้ำยาแอร์