5 เทคนิคการเลือกซื้อแอร์ ปี 2021

วิธีเลือกซื้อแอร์ 2021

ใกล้สิ้นปีแอร์เริ่ม Sale กันแล้ว
มาดูวิธีการเลือกซื้อกันว่า
ปีนี้ควรดูอะไรกันบ้าง

5 เทคนิคการเลือกซื้อแอร์ ปี 2021 

ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า
ถ้าซื้อแอร์ไม่เหมาะสมกับห้อง
ข้อเสียนี้เยอะเลยนะ

เรื่องพื้นๆที่ทุกคนน่าจะรู้กันอยู่แล้ว คือ
ถ้าซื้อแอร์ BTU ต่ำกว่าขนาดห้อง
ห้องน่าจะไม่เย็น
ถูกต้องเลยครับ

แล้วถ้าเราซื้อแอร์ BTU สูงมากๆ
เกินกว่าที่ห้องเราต้องการละ

เช่น ห้องนอน
ธรรมดานอนกันสองคนไม่โดนแดด
ขนาด 3*3 เมตร พื้นที่รวมภายใน 9 ตร.ม.
เราใช้แอร์ขนาด 18,000 BTU

สิ่งที่เกิดขึ้นคือ
แอร์จะทำงานแป๊ปเดียวแล้วตัด
เพราะห้องเย็นแล้ว
กลายเป็นว่าแอร์ตัดบ่อยมากจนเกินไป

ส่งผลให้แอร์พังเร็วกว่าปกติครับ

( ยกเว้นแต่ใช้แอร์อินเวอร์เตอร์นะ
มันอาจไม่ตัดแต่จะวิ่งรอบต่ำ
แต่ก็สิ้นเปลืองเงินอยู่ดีครับ )

ดังนั้นการเลือกใช้งานเบื้องต้นควรดูที่ 👇


1 🎯
BTU แอร์ให้เหมาะกับห้อง

ห้อง 3*3 = 9,000 BTU
ห้อง 3*4 = 12,000 BTU
ห้อง 4*4 = 18,000 BTU
ห้อง 4*5 = 20,000 BTU
ห้อง 5*5 = 24,000 BTU

เอาง่ายๆ ก็ กว้าง*ยาว*1,000
จะได้ขนาด BTU โดยประมาณนะ (คิดแบบง่ายๆ)

 

2 🎯
ดูหน่อยว่าใช้น้ำยาอะไร
แอร์ในปัจจุบันใช้น้ำยาอยู่ 3 ตัว

คือ R22, R32 และ R410A

ถ้าไปซื้อแอร์ที่ใช้ R22
ก็เตรียมซวยได้
เพราะเขากำลังจะเลิกใช้งานแล้ว
โรงงานไม่ผลิตแล้ว

ที่เราไปเจอคือแอร์ค้างสต๊อก
แถมน้ำยาก็กำลังลดการใช้งาน
อาจส่งผลให้ราคาน้ำยาสูงขึ้นในอนาคต

อุปกรณ์ภายในก็ไม่รู้เสื่อมสภาพ
ไปมากน้อยแค่ไหน
ราคามันอาจจะถูกมาก
แต่คุ้มไม่คุ้มคิดเอาเอง

ส่วน R32 กับ R410A
เป็นน้ำยาที่ใช้งานในปัจจุบัน
2 ตัวนี้ไม่มีปัญหาซื้ออันไหนก็ได้
ใช้งานได้เหมือนกัน

3 🎯
เลือกก่อนว่า
จะใช้แอร์อินเวอร์เตอร์ไหม

ดูสักนิด
ราคาแอร์อินเวอร์เตอร์ เดียวนี้
ไม่ได้แพงมาก เหมือนสมัยก่อนแล้ว

ถ้ามันประหยัดไฟให้เราได้
แล้วเรามีกำลังพอจะซื้อก็ได้
ก็แนะนำครับ

วิธีการดูก็ง่ายๆเลย
ดูว่าอินเวอร์เตอร์ตัวไหนประหยัดไฟ
ให้ดูที่ค่า SEER

ค่านี้ยิ่งสูงยิ่งประหยัดไฟ
สูงสัก 20 – 25 นี้
ประหยัดไฟแนวหน้าในตอนนี้เลย

บางคนไปดูเจอ EER
เจ้า EER กับ SEER คือค่าประหยัดไฟเหมือนกัน
แต่ทดสอบต่างกัน
ในปัจจุบันนิยมดูค่า SEER มากกว่า
โดยแอร์รุ่นใหม่จะทดสอบเป็น SEER
ส่วนรุ่นเก่าๆ จะทดสอบ EER


4 🎯
เลือก รูปแบบแอร์กันหน่อย

ถ้าเราต้องการติดแอร์ออฟฟิตคนเยอะๆ
อย่าเอา แอร์ติดพนัง (wall-type) ไปติด

เพราะมันส่งลมได้ไม่แรง
ทำให้ถ้าคนนั่งกันเยอะๆจะไม่ค่อยเย็น
ให้ไปติดแบบ แขวน (split-type) แทน

ถ้าติดใช้งานในบ้าน ห้องนอน ห้องนั่งเล่น
ห้องทำงานส่วนตัว
พวกนี้ใช้แอร์ติดพนังเหมาะสม
เพราะพวกนี้จะเงียบเวลาใช้งานไม่รบกวนเรา

แต่ถ้าเน้นใช้รุนแรง เย็นมากๆ
ไปแอร์แขวนเลย ห้องทำงานนั่งกันหลายๆ คน
ห้องประชุม ห้องอาหาร อะไรพวกนี้

หรือลองถาม sale ก็ได้ว่า
เราจะเอาแอร์ไปติดห้อง
ใช้งานอะไรให้ Sale แนะนำ

🎯
ประกันหลังการขาย

สำหรับแอร์เวลาเราไปซื้อ
เขาจะแจ้งว่า มีประกันคอมแอร์
กับ ประกันอะไหล่แอร์

ประกันคอมแอร์ คือ
ประกันเฉพาะอุปกรณ์คอมเพรสเซอร์แอร์
ซึ่งตัวนี้ถ้าเสียราคาแพงสุดแล้วในแอร์

ประกันโดยมากก็มี 3 ปี, 5 ปี, 7 ปี
หรือ 10 ปี แล้วแต่ยี่ห้อแล้วแต่รุ่น

ส่วนประกันอะไหล่แอร์ คือ
ประกันชิ้นส่วนอื่นเช่น มอเตอร์พัดลม เป็นต้น
อาจจะมีประกัน 1 ปี, 3 ปี หรือ 5 ปี

 

โดยมากต้องประกันทั้ง 2 อย่างนะ
เวลาเราไปซื้อ
คือประกันคอม 5 ปี ประกันอะไหล่ 1 ปี เป็นต้น

 

แน่นอนว่าประกันทั้ง 2 อย่างฟรี
ในเวลารับประกัน
แต่ บางยี่ห้อจะคิดค่าแรงเวลาซ่อม
คือ ฟรีแค่อะไหล่แต่ค่าซ่อมไม่ฟรี
ดังนั้นก่อนซื้อก็ถาม Sale ดีๆ

เรียบเรียงข้อมูลโดย : ฝ่ายวิชาการ
#โรงเรียนศูนย์ฝึกวิชาชีพระยะสั้น
#สอนช่างแอร์ #แอร์บ้าน #ช่างแอร์