ส่วนประกอบ
“คอมเพรสเซอร์แอร์รถยนต์”
Discharge Connection
จุดเชื่อมต่อที่สารทำความเย็นด้านส่ง
จุดสังเกตุ : จะมีขนาดเล็กกว่าท่อด้านดูด (Suction)
Suction Connection
จุดเชื่อมต่อที่สารทำความเย็นด้านดูด
จุดสังเกตุ : จะมีขนาดใหญ่กว่าท่อด้านส่ง (Discharge)
Service Valve ด้าน High Pressure
“วาล์วบริการด้านส่ง (แรงดันสูง)”
สำหรับต่อสายเครื่องวัดน้ำยา
เพื่อทำงานเกี่ยวกับระบบน้ำยา
จุดสังเกตุ : จะวางตรงกับตำแหน่งด้านดูด (Suction)
หมายเหตุ : จะมีเฉพาะคอมบางยี่ห้อ/บางรุ่น
Service Valve ด้าน Low Pressure
“วาล์วบริการด้านดูด (แรงดันต่ำ)”
สำหรับต่อสายเครื่องวัดน้ำยา
เพื่อทำงานเกี่ยวกับระบบน้ำยา
จุดสังเกตุ : จะวางตรงกับตำแหน่งด้านดูด (Suction)
หมายเหตุ : จะมีเฉพาะคอมบางยี่ห้อ/บางรุ่น
ช่องเติมและถ่ายน้ำมันคอม
สำหรับงานเปลี่ยนถ่ายน้ำมันคอม “โดยใช้ประแจขัน”
หมายเหตุ : จะมีเฉพาะคอมบางยี่ห้อ/บางรุ่น
ร่องสายพานพูลเล่ย์
เป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับแกนคอมแอร์
เพื่อส่งแรงหมุนด้วยสายพาน
เพื่อให้หมุนคอมแอร์นั่นเอง
ซึ่งร่องของพูลเล่ย์จะมีหลายแบบ
ขึ้นอยู่กับร่องของสายพาน
คอยล์แม่เหล็กไฟฟ้า หรือคอยล์ครัชจากรูป
คือสายไฟที่ต้องจ่ายไฟเลี้ยง
(+12V หรือ +24V แล้วแต่ประเภทรถยนต์)
เข้าคอยล์แม่เหล็กไฟฟ้า สร้างสนามแม่เหล็กดูดหน้าครัช
ติดกับร่องสายพานพูลเล่ย์นั่งเอง
สำหรับบางรุ่น จะมีสายไฟคอยล์แม่เหล็ก
และสายไฟวาวล์คอนโทรล ก็คือมีสาย2 เส้น
ซึ่งเป็นแบบปลั๊กเสียบ
หน้าครัชคอมเพรสเซอร์
ทำหน้าที่ดูดจับหน้าครัชคอมเพรสเซอร์
เพื่อตัดและต่อการทำงานคอมเพรสเซอร์
ตามที่ตั้งอุณหภูมิไว้
วาล์วควบคุม (Control Valve)
“ทำหน้าที่ควบคุมกำลังอัดคอมเพรสเซอร์”
เพื่อหมุนเวียนในระบบแอร์และถูกติดตั้ง
ไว้ที่คอมเพรสเซอร์และมีปลั๊กเสียบสายไฟ
ซึ่งระบบการทำงานจะคล้ายคลึงแอร์บ้าน
ที่เป็นระบบอินเวอร์เตอร์ ส่วนใหญ่จะ
พบเจอในรถยนต์ที่ราคาสูง
เรียบเรียงโดย : แผนกวิชาการ