เกจวัดแรงดันด้าน High มีความสำคัญยังไง?

เกจวัดแรงดันด้าน High
มีความสำคัญยังไง?

เกจวัดแรงดันน้ำยา หรือชื่อเต็มๆ
คือ “แมนิโฟลด์เกจ”


ในงานระบบทำความเย็น
เราจะใช้เกจเป็นตัววัดแรงดันน้ำยา
เพื่อวิเคราะห์ว่าระดับน้ำยา
อยู่ในช่วงแรงดันปกติรึป่าว

ซึ่งถ้าผิดปกติ
จะส่งผลทำให้แอร์ไม่เย็นได้


 
น้ำยาแต่ละชนิดก็จะมีช่วงแรงดันที่แตกต่างกัน
หรือกรณีเป็นน้ำยาชนิดเดียวกัน
แต่อยู่คนละระบบทำความเย็น
ก็ใช้แรงดันในช่วงที่ต่างกันด้วย

เช่น
ในรถยนต์กับตู้เย็น
บางรุ่นที่ใช้น้ำยา R134A เหมือนกัน
แต่ใช้แรงดันไม่เท่ากัน


 
เกริ่นมาพอละทีนี้เรามาเข้าเรื่องกัน!!

เกจวัดแรงดันด้าน High
หรือ ฝั่งสีแดง มีหน้าที่ทำอะไร?
 
โดยปกติทั่วไปเวลาจะเช็คแรงดันหรือเติมน้ำยา
ก็จะทำทางฝั่ง Low หรือฝั่งน้ำเงิน


แต่ฝั่ง Highก็สามารถใช้วัดแรงดันได้เช่นกัน
โดยเกจฝั่ง High จะใช้ต่อกับท่อน้ำยาเส้นเล็ก

ท่อเส้นนี้อาจจะเรียกได้ในหลายๆ ชื่อ เช่น
ท่ออัด, ท่อ High Pressure,ท่อ Discharge
ในที่นี้เรียกท่อ High แล้วกันนะ
 
 
แล้วเมื่อไหร่ที่จะต้องไป
วัดแรงดันด้าน High?

จริงๆ แล้วตามหลักการทำงาน

มันควรวัดทุกครั้งที่เข้าไปตรวจแอร์
คือ เราควรจะวัดทั้งแรงดันท่อ Low
และแรงดันท่อ High เวลาทำงาน

เพราะเมื่อไหร่ที่แรงดันในระบบไม่อยู่ใน
ช่วงปกติแสดงว่ามี
อาการเสียเกิดขึ้นแล้วนั่นเอง
 
เช่นหากกำลังของคอมเพรสเซอร์ตก
แรงดันด้าน High อาจจะต่ำผิดปกติ
หรือ
เอ็กซ์แพนชั่นวาล์วตัน
แรงดันด้าน High อาจจะสูงผิดปกติ
ซึ่งจะอาศัยแค่วัดแรงดันด้าน Low
อาจจะวิเคราะห์อาการเสียผิดได้

 
แต่ในแอร์บ้านที่เป็นแอร์ติดผนังส่วนใหญ่
จะมีจุดต่อมาแค่ด้าน Low อย่างเดียว
ช่างเลยไม่สามารถที่จะวัดได้

แต่เราจะใช้กระแสไฟเป็นตัวช่วยวิเคราะห์อาการ

สำหรับระบบทำความเย็นอื่นๆ
เช่น ในรถยนต์จะมีจุดต่อท่อน้ำยาทั้ง 2 ท่อ
ก็ควรจะต่อทั้งคู่นะคะ

 

สรุปเกจวัดแรงดันด้าน High

จะใช้เพื่อเป็นตัวช่วย
ในการวิเคราะห์อาการเสีย

การต่อเกจแรงดันด้าน High
ให้ปลอดภัยแนะนำว่าควรต่อ
ขณะที่คอยล์ร้อนยังไม่ทำงาน
เพราะแรงดันจะยังไม่สูงมาก
 

สำคัญมาก!!!

#ห้าม🚫
เติมน้ำยาเข้าทางท่อ High
ขณะคอยล์ร้อนกำลังทำงาน

เพราะ แรงดันน้ำยาในแอร์
สูงกว่าในถังน้ำยา
ทำให้น้ำยาย้อนกลับเข้ามาในถัง
อาจระเบิดหรือเกิดอันตรายได้



เรียบเรียงเนื้อหา โดย : แผนกวิชาการ