วงจรจรขนาน คืออะไร❓

วงจรขนาน (1)

วงจรจรขนาน คืออะไร

เอาไปต่อใช้งานในชีวิตจริงไงวันนี้มีคำตอบ

***********************************************

ครั้งที่แล้วผมได้อธิบายถึงวงจรอนุกรมกันไปบ้างแล้ว
ใครที่ยังไม่ได้อ่านย้อนกลับไปอ่านกันได้ที่นี้เลยนะครับ
👉 http://bit.ly/35D4y5f

มี เป็น VDO อธิบายไว้ด้วยกดดูได้เลยที่นี่ครับ
👉 http://bit.ly/39RdxD1


อะ มาเข้าเรื่องกัน

🎯
วงจรขนาน คือ วงจรที่นำอุปกรณ์ไฟฟ้า/โหลด
(ในที่นี้ใช้ตัวต้านทานเป็นตัวอย่างนะ) มาต่อกัน
โดยลักษณะ ต้น (+) ต่อต้น (+) ,ปลาย (-) ต่อปลาย (-)
หรือ เรียกง่ายๆ ว่าการต่อขนานกันไปเรื่อยๆ

🎯
คุณสมบัติของวงจรขนานคือ
“แรงดันเท่ากันทั้งวงจร”
“แต่แบ่งกระแสไฟฟ้า”
ไปที่อุปกรณ์ไฟฟ้า/โหลดหรือตัวต้านทานนั้นเอง

วงจรขนาน (2)

 ข้อดี ของวงจรขนาน คือ

ลักษณะการต่อที่ทำให้ โหลดสามารถรับแรงดันได้เท่ากันทั้งวงจร

ทำให้โหลดได้รับแรงดันไม่ลดลงเหมือนกับ วงจรอนุกรมนั้นเอง


งงใช่ไหม 555+
ยกตัวอย่างง่ายๆ ละกัน


ถ้าต่อขนานหลอดไฟ ไฟจะสว่างเท่ากันทุกดวง เพราะทุกดวงแรงดันไฟฟ้าคงที่เท่ากันหมด

แต่ถ้าเราต่ออนุกรม ไฟดวงแรกสว่างสุด ดวงท้ายๆ ไฟจะสว่างน้อยลง เพราะแรงดันไฟฟ้าดวงแรก
จะเยอะสุดดวงอื่นๆ จะค่อยๆ ลดลง ครับ


วิธีการต่อขนาน ช่างเลยนิยมต่อใช้งานมากที่สุด เพราะอุปกรณ์ไฟฟ้าส่วนใหญ่ต้องการแรงดันไฟฟ้า อยู่ที่ 220 โวลต์ ในการทำงาน ถ้าแรงดันตกลงจะทำงานไม่ได้


 ข้อเสีย ของการต่อใช้งานวงจรขนาน คือ

ไม่เหมาะในการต่อวงจรลักษณะเชิงป้องกัน
หรือ สวิทช์

ถ้าจะต่อ วงจรอนุกรมเหมาะกว่าครับ

วงจรขนาน (3)


🎯 สรุปวงจรขนาน 🎯


🔸 วงจรขนาน เป็นวงจรที่เหมาะสมกับการต่อเพื่อใช้งานโหลด แต่ไม่เหมาะสมกับการนำมาต่อใช้งานเชิงป้องกัน

 เหมาะสม กับการนำมาต่อใช้งาน ปลั๊กไฟ หลอดไฟ

 ไม่เหมาะสม กับการนำมาต่อสวิตช์ไฟในการตัดต่อส่วนวงจร

🔸 วงจรอนุกรมนั้น เหมาะสม ในการมาต่อเชิงป้องกันมากกว่า การต่อเพื่อนำมาใช้งาน

ยกตัวอย่างเช่น การต่อ ฟิวส์ หรือ การต่อสวิตช์


ถ้าใครสงสัยว่าทำไม ย้อนกลับไปอ่านบทความ
วงจรอนุกรมที่นี้นะ 👉 http://bit.ly/35D4y5f

ทำอธิบายไว้ให้แล้วครับ

***********************************************

เรียบเรียงบทความโดย : แผนกวิชาการ

#โรงเรียนศูนย์ฝึกวิชาชีพระยะสั้น
#ช่างไฟฟ้าภายในอาคาร #วงจรขนาน
#วงจรไฟฟ้า #ไฟฟ้าพื้นฐาน #ไฟฟ้า
#ช่างไฟฟ้า #สอนช่างไฟฟ้า